โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง ดำเนินการโดย มูลนิธิรักษ์ไทย สนับสนุนโดย Alstom Foundation

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง ดำเนินการโดย มูลนิธิรักษ์ไทย สนับสนุนโดย Alstom Foundation

จากรายงานผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 พบว่าประชากรราว 8.25 ล้านคนยังขาดแคลนน้ำประปาและจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่สูง มูลนิธิรักษ์ไทยร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, อ.บ่อเกลือ และ อ.เชียงกลาง จ.น่าน ซึ่งใช้น้ำจากระบบประปาภูเขา

พบค่าการปนเปื้อนของแบคทีเรียสูงกว่ามาตรฐานอย่างชัดเจน โดย Total coliforms bacteria (TCB) อยู่ที่ 3,900 MPN/100 ml และ Escherichia coli อยู่ที่ 130 MPN/100 ml ขณะที่ค่ามาตรฐานน้ำดื่มกำหนดไว้ไม่เกิน 1.1 MPN/100 ml สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และในช่วงฤดูแล้ง หลายชุมชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งส่งผลต่อภาระของผู้หญิงในครัวเรือนที่ต้องดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวเป็นหลัก ด้วยการสนับสนุนจาก Alstom Foundation มูลนิธิรักษ์ไทยจึงร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่พัฒนาระบบประปาภูเขาให้สะอาดและปลอดภัยใน 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่จุมสาม และบ้านขุนแม่นาย ในอำเภอแม่แจ่ม บ้านกอก ในอำเภอเชียงกลาง และบ้านสว้าเหนือ ในอำเภอบ่อเกลือ

ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ 557 ครัวเรือน รวม 1,868 คน (เป็นผู้หญิง 949 คน หรือ 50.08%) สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างเพียงพอ พร้อมกันนี้ ชุมชนยังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในพื้นที่กว่า 7,834.40 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่านและแม่น้ำปิง สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6: น้ำสะอาดและสุขาภิบาล และเป้าหมายที่ 15: การปกป้องและใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน

โครงการอื่นๆ

โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการความร่วมมือระดับโลกที่เรียกว่า ไบโอฟิน (BIOFIN: The Biodiversity Finance Initiative) เกิดขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2555 จากการริเริ่มของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP: United Nations Development Programme) ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD)

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

“ดอยสุเทพหายไป” ภาพคุ้นเคยของคนเชียงใหม่ที่ไม่ใช่ปรากฏการทางธรรมชาติ แต่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มลพิษที่อันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างมาก PM 2.5 มาจากการเผาไหม้และการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิง

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทำไมคนต่างจังหวัดต้องดูรายการทีวีที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนกรุงเทพฯ เราจะมีสถานีโทรทัศน์ชุมชนที่ผลิตเนื้อหาเพื่อตอบโจทย์การรับรู้ข่าวสารของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตนอาศัยอยู่ได้หรือไม่ และจะทำได้อย่างไร เหล่านี้เป็นคำถามที่นำมาสู่โครงการ “ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง”