ส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิง

ส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิง
เน้นพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านอาชีพให้กับผู้หญิงบนดอยภาคเหนือ และผู้หญิงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สามารถมีทางเลือกในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ

โครงการทั้งหมด

She made it ผู้หญิงพลิกฟื้นเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชน

ดึงศักยภาพและความสนใจเพื่อนำมาประกอบเป็นวิชาชีพเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงที่ถูกตีกรอบด้วยความเชื่อและทัศนคติทางวัฒนธรรม เช่น กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สูญเสียสามีที่เป็นผู้นำครอบครัวไปกับความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือกลุ่มชาติพันธุ์

We Sparkle

“ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ความข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะให้ทำได้จริงนั้นอาจยากนัก ยิ่งคนในวัยแรงงานโดยเฉพาะแรงงานหญิงยิ่งมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวและดูแลผู้มีพระคุณ ยิ่งทำให้ชีวิตปลอดพ้นจากการเป็นหนี้ได้ไม่ง่ายนัก

เสริมสร้างพลังอำนาจหญิงน่าน

แม้ภาครัฐจะกำหนดให้เด็กไทยได้รับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี และโดยภาพรวมแล้วเด็กในเมืองใหญ่ก็ได้รับการศึกษาตามนั้น แต่ในความเป็นจริงคือยังมีเยาวชนหญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิงในจังหวัดน่าน ซึ่งมีอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ที่ไม่รู้หนังสือ หรือมีความรู้...

เสริมศักยภาพผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อลดความเปราะบางจากเพศสภาพและการเข้าถึงการสนับสนุน

จากสถานการณ์ความขัดแย้งและความตึงเครียดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องมา 10 กว่าปี ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมที่นั่น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องเผชิญปัญหาความยากจน ความรุนแรงทางเพศ และการติดยาเสพติด ซึ่งมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

สิทธิและโอกาสของแรงงานข้ามชาติสตรี

ถ้ามีคนถามคุณว่า “แรงงานข้ามชาติ” หน้าตาเป็นอย่างไร เชื่อว่าภาพแรกที่คนมักจะนึกถึงคือภาพของชายรูปร่างหน้าตากำยำล่ำสัน ทำงานใช้แรงงานอย่างโชกโชน

ฮักข้าว : ปรับวิธีปลูกข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต

“ข้าว” เป็นอาหารหลักที่คนไทยบริโภคกันเป็นประจำทุกวัน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าวให้เรากินนั้น แบกต้นทุนการผลิตไว้มากมายและหนึ่งในหลายเรื่องนั้นคือวิธีการปลูกข้าวที่ทำกันมาตามความเคยชิน ได้กลายเป็นภาระอันหนักอึ้ง ที่พวกเขาเองไม่กล้าปลดลงจากบ่า