โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ- ปุยมูลนิธิรักษ์ไทย สนับสนุนโดย สถานบันพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ดอยสุเทพหายไป” ภาพคุ้นเคยของคนเชียงใหม่ที่ไม่ใช่ปรากฏการทางธรรมชาติ แต่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มลพิษที่อันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก PM 2.5 มาจากการเผาไหม้และการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิง การเผาไหม้ในที่โล่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด PM 2.5 ปัจจุบัน พบว่าไฟในที่โล่ง “ไฟป่า” ที่ยังคงเกิดขึ้นในทุกๆปี ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ป่า ถึงแม้ภาครัฐ จะกำหนดมาตรการในการควบคุมและจัดการอย่างเข้มงวดแต่ปัญหาไฟป่ายังคงเกิดขึ้นทุกปี

ในปี พ.ศ.2567 กรมอุทยานฯ ประเมินพื้นที่ป่าที่ถูกเผาไหม้สูงถึง 399,408.65 ไร่ เพื่อค้นหาสาเหตุไฟป่า และแนวทางการบริหารจัดการไฟป่าที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มูลนิธิรักษ์ไทย ภายใต้การดำเนินงานตามแผนงานการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ (PES) เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและฝุ่นละออง PM 2.5 โดยการมีส่วนร่วมในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับคณะทำงานชุมชนใน 10 ชุมชนเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ อช.ดอยสุเทพ-ปุยและภาคีเครือข่าย รวบรวมข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) พื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar)

ทำการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของไฟป่า​ พัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการไฟป่าที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน โดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยี เช่น ระบบกล้องวงจรปิดติดตามเฝ้าระวังไฟป่า โดรนประเมินสภาพไฟป่าที่เกิดขึ้น สร้างเครือข่ายการจัดการไฟป่า โดยภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นตามหลักการ PES ในการบริหารจัดการไฟป่าตามแผนงานที่พัฒนาขึ้น ทำให้การบริหารจัดการไฟป่าของชุมชนในปี 2568 มีประสิทธิภาพและเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการ “คืนภาพดอยสุเทพ คืนชีวิตที่เป็นปกติสู่สังคม”

โครงการอื่นๆ

โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการความร่วมมือระดับโลกที่เรียกว่า ไบโอฟิน (BIOFIN: The Biodiversity Finance Initiative) เกิดขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2555 จากการริเริ่มของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP: United Nations Development Programme) ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD)

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง

จากรายงานผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 พบว่าประชากรราว 8.25 ล้านคนยังขาดแคลนน้ำประปาและจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งที่ไม่ถูกสุขอนามัย

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทำไมคนต่างจังหวัดต้องดูรายการทีวีที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนกรุงเทพฯ เราจะมีสถานีโทรทัศน์ชุมชนที่ผลิตเนื้อหาเพื่อตอบโจทย์การรับรู้ข่าวสารของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตนอาศัยอยู่ได้หรือไม่ และจะทำได้อย่างไร เหล่านี้เป็นคำถามที่นำมาสู่โครงการ “ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง”