โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

BIOFIN: The Biodiversity Finance Initiative โครงการความริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

BIOFIN คืออะไร

โครงการความร่วมมือระดับโลกที่เรียกว่า ไบโอฟิน (BIOFIN: The Biodiversity Finance Initiative) เกิดขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2555 จากการริเริ่มของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP: United Nations Development Programme) ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) วัตถุประสงค์หลักของ BIOFIN คือ การสนับสนุนทางด้านวิชาการของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยนำกรอบความคิดและกระบวนการ BIOFIN methodology ที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือ การพัฒนาแผนการระดมทุนเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่ควรได้รับการดูแลอย่างถูกที่ถูกเวลา ซึ่งเงินทุนควรจะมาจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าเป็นระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบดั้งเดิมและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อหาแนวทางผสมผสานการลงทุนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมาะสมของ แต่ละประเทศ เพื่อสร้างผลลัพท์ทางการเงิน 4 ประการ คือ

(1) สร้างรายได้จากการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (Generate revenue)

(2) วางกรอบงบประมาณที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเหมาะสม (Realign current expenditure)

(3) หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Avoid the need for future biodiversity expenditures)

(4) เกิดการลงทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (Deliver financial resources more effectively and efficiently)

สำหรับพื้นที่เกาะเต่า มีการใช้รูปแบบ “user charge” ในการสร้างรายได้จากผู้ใช้บริการจากความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศน์ โดยแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติมีศักยภาพในการเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยว เพื่อนำรายได้ที่ได้รับไปใช้ในการฟื้นฟูดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะปะการัง

ผลลัพธ์ของโครงการไบโอฟิน BIOFIN

โครงการมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างรายได้ให้เกิดประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้รัฐบาลท้องถิ่น สามารถนำเงินส่วนนี้ไปดูแลเรื่องการจัดการขยะ เรื่องการดูแลปะการัง การส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น และการสร้างความตระหนักให้กับเยาวชน รายได้จากจัดเก็บของท้องถิ่นจะนำไปสู่โครงการการอนุรักษ์ และการพัฒนาการที่ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ ในเรื่องของการทำแผนในเรื่องของการจัดการงบประมาณก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนในแง่ของการสร้างให้เกิดกระบวนการและกลไกของชุมชน ที่สามารถดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ของเขาได้อย่างยั่งยืน ตลอดไป

โครงการอื่นๆ

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

“ดอยสุเทพหายไป” ภาพคุ้นเคยของคนเชียงใหม่ที่ไม่ใช่ปรากฏการทางธรรมชาติ แต่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มลพิษที่อันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างมาก PM 2.5 มาจากการเผาไหม้และการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิง

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง

โครงการพัฒนาระบบน้ำประปาภูเขาสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนบนที่สูง

จากรายงานผลการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 พบว่าประชากรราว 8.25 ล้านคนยังขาดแคลนน้ำประปาและจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งที่ไม่ถูกสุขอนามัย

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง

ทำไมคนต่างจังหวัดต้องดูรายการทีวีที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนกรุงเทพฯ เราจะมีสถานีโทรทัศน์ชุมชนที่ผลิตเนื้อหาเพื่อตอบโจทย์การรับรู้ข่าวสารของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตนอาศัยอยู่ได้หรือไม่ และจะทำได้อย่างไร เหล่านี้เป็นคำถามที่นำมาสู่โครงการ “ทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง”