ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร

    หนึ่งในโครงการน่าสนใจคือโครงการศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ ที่มูลนิธิรักษ์ไทย จ.สมุทรสาคร ได้มอบการศึกษาให้แก่เด็กข้ามชาติ ที่ติดตามพ่อแม่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นปัญหาของเด็กผู้ติดตามที่ไม่มีคนดูแลในเวลาพ่อแม่ไปทำงาน บางครอบครัวต้องพาลูกไปทำงานด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในสถานประกอบการ  เด็กบางส่วนถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพังในระหว่างที่ผู้ปกครองไปทำงาน จนบ่อยครั้งเกิดอุบัติเหตุขึ้นและถูกละเมิดทางเพศ  ส่วนเด็กที่โตขึ้นมาสักหน่อยพอจะช่วยพ่อแม่ทำงานได้ ก็นำไปสู่การใช้แรงงานเด็กเต็มรูปแบบ

   ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เด็กอายุ ระหว่าง 4-15 ปี ได้เข้าถึงสิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน 4 ประการ กล่าวคือ ได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดี, ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทอดทิ้ง การถูกล่วงละเมิดและใช้แรงงานเด็ก, ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมก่อนส่งต่อเข้าโรงเรียนของรัฐ และท้ายสุดแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางด้านวัฒนธรรม เรียนรู้ชุมชนในวัฒนธรรมประเพณีของตน

ในด้านการส่งเสริมชีวิตและได้รับบริการด้านสุขภาพ

    ทางศูนย์การเรียนรู้ดำเนินการตรวจสุขภาพและโภชนาการเด็กในทุกเดือน ตลอดจนประสานงานขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลในการฉีดวัดซีนที่จำเป็นแก่เด็กตามช่วงวัยและส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็ก

ส่วนการปกป้องคุ้มครองเด็ก จากการถูกทอดทิ้ง การถูกล่วงละเมิดและการใช้แรงงานเด็ก

     เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อดึงเด็กออกจากการใช้แรงงาน สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการศึกษาในเด็กข้ามชาติ และเพื่อลดความกังวลของผู้ปกครองขณะทำงาน 

สำหรับเรื่องการพัฒนาเด็ก

     ทางศูนย์เตรียมความพร้อมเด็กเพื่อส่งต่อเข้าสู่โรงเรียนของรัฐในเด็กที่มีความพร้อมและพ่อแม่สามารถส่งเด็กเข้าเรียนได้  มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ กศน. สำหรับเด็กที่อายุเกินเกณฑ์เข้าโรงเรียน อีกทั้งยังมีการพัฒนาด้านทักษะชีวิตสำหรับเด็กและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยแรงงาน  นอกจากนี้ยังเข้าถึงเด็กในชุมชนโดยใช้รูปแบบโมบายการศึกษาเคลื่อนที่เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะชีวิตและสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาเรียนที่ศูนย์อย่างต่อเนื่อง

การส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางด้านวัฒนธรรม

     เรียนรู้ชุมชนในวัฒนธรรมประเพณี และการแสดงออกทางความคิดในเรื่องที่เกิดผลกระทบต่อเด็ก ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ และทำกิจกรรมผ่านค่ายทักษะชีวิต โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสนอรูปแบบค่ายและกิจกรรมที่ต้องการ อย่างเหมาะสม

     เด็กที่เข้ามาเป็นลูกศิษย์ของศูนย์เรียนรู้ มีทั้งชายและหญิง จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนเด็กในความดูแล 127 คน แต่จากการทำงานในปี 2560 ทั้งปี มีเด็กออกจากศูนย์ทั้งหมด 92 คน โดยแยกออกเป็นเด็กที่เข้าสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียนรัฐ 8 คน เด็กที่เข้าเรียนต่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 คน เด็กที่ออกจากศูนย์โดยสาเหตุอื่น เช่น กลับพม่า หรือย้ายที่อยู่ตามผู้ปกครอง เป็นจำนวนมากถึง 78 คน และท้ายสุดคือเด็กที่ออกจากศูนย์และไปทำงาน 6 คน
     แม้จะเป็นเพียงศูนย์การเรียนรู้เล็ก ๆ แต่ก็มีความหมายไม่น้อยต่อชีวิตของเด็กแรงงานข้ามชาติหลายคนที่มีโอกาสได้สัมผัสกับชีวิตการศึกษาในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนก้าวเดินต่อไปในโลกกว้าง

โครงการอื่นๆ

ศูนย์เรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.ปัตตานี

ศูนย์เรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.ปัตตานี

เด็ก ๆ มีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา อันเป็นสิทธิพื้นฐานของเด็กทุกคนเมื่อเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กเชื้อชาติ สัญชาติไหนหรืออาศัยอยู่ที่แห่งใดบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ๆ ลูกแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย พวกเขา/เธอก็มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่การเข้าถึงการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย และเมื่อพิจารณาข้อมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน(จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม) พบว่าประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปีมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่ปลอดภัย/ไม่ป้องกัน

ยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

ยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

“บูลลี่” (bully) คำศัพท์ภาษาฝรั่งที่คนไทยเริ่มใช้ทับศัพท์กันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยเฉพาะทางสื่อสังคมออนไลน์ “โซเชียลมีเดีย” มีการพูดถึง “ไซเบอร์บูลลี” หรือการรังแกกันผ่านทางโซเชียลมีเดีย กันมากขึ้น แต่การรังแกทางกายภาพ ต่อหน้าต่อตานั้น ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น้อยไปกว่ากัน

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.นครศรีธรรมราช

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.นครศรีธรรมราช

พื้นที่ในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาชีพของชาวบ้านในชุมชนที่นี่จึงเป็นการจับสัตว์น้ำในทะเล และใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติหลากหลายสัญชาติเดินทางเข้ามาใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน