ปัญหาการท้องในสถานประกอบการ

     เมื่อมาอยู่ทำงานร่วมกัน พบปะสังสรรค์กันบ่อยครั้ง ย่อมเกิดความสัมพันธ์ฉันหนุ่มสาวที่ผูกพันลึกซึ้งกันมากขึ้น จนกระทั่งในหลายกรณีเกิดเป็นปัญหาท้องวัยรุ่นและความรุนแรงทางเพศขึ้นมา แต่ด้วยสภาพการทำงานที่อยู่ในสถานประกอบการซึ่งเป็นพื้นที่ปิดและมีความเฉพาะทำให้การดำเนินงานเรื่องสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกัน การดูแลเข้าถึงยาก สถานประกอบการส่วนใหญ่มีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติ มีนโยบายมุ่งเน้นการผลิต  แต่ในส่วนของสวัสดิการพนักงานมักจะประสบปัญหาสุขภาพเนื่องจากการทำงาน

     ปัญหาสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ท้องในวัยรุ่น เป็นประเด็นเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไข ในขณะที่ประชากรในสถานประกอบการ เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางและเผชิญสถานการณ์ดังกล่าวค่อนข้างสูงกลุ่มหนึ่ง แต่จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีหน่วยงานใดทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม เข้าไปดำเนินงานในเรื่องนี้  ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ นายจ้างจะมอบหมายให้พยาบาลเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธ์แก่ลูกจ้างวัยรุ่น  จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการเข้าถึงบริการ การส่งต่อ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ลูกจ้างอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและความรุนแรงทางเพศ

     โครงการ “การป้องกันและแก้ไขเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ท้องไม่พร้อม/ความรุนแรงทางเพศในสถานประกอบการ” เป็นโครงการที่มูลนิธิรักษ์ไทย สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ริเริ่มดำเนินงานขึ้นเพื่อส่งเสริมแนวคิดฐานคิดเรื่องเพศ เพื่อสร้างจิตอาสาสมัครจากผู้บริหารระดับล่าง ฝ่ายบุคคลเพื่อส่งต่อแกนนำพนักงานหลักในสถานประกอบการและสร้างเครือข่ายการทำงานผ่านกลไกการทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ประสบการณ์ในการให้ความรู้ ข้อมูลแก่ลูกจ้างอย่างถูกต้อง สามารถให้คำปรึกษาในศูนย์บริการในสถานประกอบการ ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ 

     สำหรับการดำเนินงานนั้นทางโครงการฯ เข้าไป ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการทำงาน นักสื่อสารสุขภาวะทางเพศ ในสถานประกอบการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อม ท้องในวัยรุ่น และความรุนแรงทางเพศ  สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและสังคมของกลุ่มเป้าหมายที่ท้องไม่พร้อม ท้องในวัยรุ่น และความรุนแรงทางเพศที่ครอบคลุมมิติองค์รวม นำไปสู่การป้องกัน แก้ไขอย่างมีประสิทธิผล รณรงค์สื่อสารสังคมเชิงรุกสร้างค่านิยมเรื่องเพศเชิงบวก การป้องกันและแก้ไขเรื่องท้องไม่พร้อม ท้องในวัยรุ่น และความรุนแรงทางเพศในสถานประกอบการ

     ด้านกลุ่มเป้าหมายนั้น ทางโครงการฯเข้าไปทำงานกับ ผู้บริหารระดับล่างในแผนกฝ่ายบุคคล และแผนกฝ่ายผลิต ในสถานประกอบการจำนวน 6 สถานประกอบการ (จำนวนพนักงาน 500-3,000 คน) จำนวน 20 คน  ประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่ 4 บริษัท และโรงงานขนาดเล็ก 2 โรงงาน  พนักงานฝ่ายผลิต 600 คน (สถานประกอบการละ 100 คน)  ผู้เผชิญปัญหา : ท้องในวัยรุ่น ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ และในครอบครัว  50 คน คณะทำงานเทศบาลเพื่อลดความรุนแรงทางเพศ และการป้องกันการแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 2 เทศบาล และหน่วยงานภาคีการดำเนินงาน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด

     กลไก เครือข่าย ศูนย์บริการการให้การป้องกันแก้ไขช่วยเหลือท้องในวัยรุ่น ความรุนแรงทางเพศ เป็นกลไกระดับบุคคลเพื่อให้เกิดการประสานงานและเชื่อมบริการส่งต่อกันทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการ  นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายที่จะทำงานร่วมกันทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย อีกด้วย

โครงการอื่นๆ

การแก้ปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเชียงใหม่

การแก้ปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเชียงใหม่

สถานการณ์การคลอดบุตรในกลุ่มวัยรุ่นไทย นับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือ 44.8 คนต่อวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ขณะที่สถิติในแถบทวีปเอเชียแปซิฟิคอยู่ที่ 35 ต่อ 1,000 คน (ข้อมูลสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2558 โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

ป้องกันโควิด19 ในชุมชนประมง

ป้องกันโควิด19 ในชุมชนประมง

ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ที่เกิดการระบาดของโควิด 19 ระลอกสองที่มหาชัย จนเป็นข่าวครึกโครมและส่งผลกระทบต่อชีวิตและเศรษฐกิจของชาวไทยและแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสมุทรสาครนั้น มูลนิธิรักษ์ไทยมีส่วนสำคัญในการทำงานช่วยเหลือเบื้องหลังอย่างทันท่วงที