ไทยแลนด์ ซีฟูด ฮอทสปอท

     โครงการนี้ดำเนินการในปี 2562-2563 ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและปัตตานี เจ้าหน้าที่ของรักษ์ไทยเข้าไปเสริมพลังให้แรงงานข้ามชาติเกิดการรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิและสภาพการจ้างที่เหมาะสมสำหรับพวกเขาผ่านการสนับสนุนและคำแนะนำในระดับชุมชน โดยทางโครงการนี้จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่หัวหน้าแรงงานอพยพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในประเด็นสิทธิแรงงานและถ่ายทอดทักษะในการนำกลุ่มสนับสนุนในชุมชนแก่แรงงานอื่น

    เนื้อหาหลักภายใต้โครงการนี้เป็นเรื่องของการอัพเดทกฎหมายเกี่ยวกับประมง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงเวลานั้น พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพแกนนำในชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อช่วยเหลือกันเอง หรือส่งต่อไปยังบริการของรัฐที่มีอยู่

     บางครั้งการทำงานในพื้นที่มีความยากลำบากอยู่บ้าง วสุรัตน์ หอมสุด ผู้ประสานงานภาคสนาม มูลนิธิรักษ์ไทย เล่าว่า

   “ส่วนใหญ่การให้ความรู้คือจัดกลุ่มคุยในชุมชนในที่พักของแรงงานไม่ได้ทำในห้องประชุม ซึ่งบางครั้งลงไปในเรือเพราะเขาไม่ได้มีหอพักอยู่บนฝั่ง เราก็มีเจ้าหน้าที่ของรักษ์ไทยที่เป็นคนข้ามชาติ เข้าไปให้ความรู้  อุปกรณ์ก็มีแผ่นพับความรู้  แผ่นไวนิลแทนเพาเวอร์พอยต์ มีคีย์แมสเสจสำคัญ ในด้านสิทธิแรงงาน สิทธิประกันสังคม ตลอดจนถึงแหล่งที่ไปรับบริการเยียวยาได้  เราจะให้เบอร์โทรทิ้งไว้ให้เขาติดต่อกลับมาได้ตลอด หากเขาหรือคนในชุมชนถูกละเมิด”

     แรงงานอพยพในสถานการณ์ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสัญญาจ้าง การถูกยึดเอกสารประจำตัว หรือบังคับใช้แรงงานจะได้รับการช่วยเหลือให้ออกจากสถานการณ์นั้น โดยผู้นำแรงงานอพยพซึ่งรักษ์ไทยให้ความสนับสนุนการช่วยเหลือรายกรณีทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังและเป็นจุดเชื่อมประสานในชุมชนของเขา

     นอกจากทำงานโดยตรงกับแรงงานข้ามชาติให้มีความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานของตนแล้ว ยังสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายในระดับชุมชน พร้อมกันนี้รักษ์ไทยยังทำงานกับภาครัฐและภาคเอกชนในการสนับสนุนให้มีความรับผิดชอบต่อความต้องการของแรงงานอพยพมากขึ้นและกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย ซึ่งในเรื่องหลังนี้อาจจะต้องใช้เวลายาวนานนับปี

โครงการอื่นๆ

สิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ส่งความรู้กฎหมายสู่แรงงานประมง

สิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ส่งความรู้กฎหมายสู่แรงงานประมง

แรงงานประมงข้ามชาติเป็นกลุ่มแรงงานที่มักจะถูกละเมิดสิทธิในการทำงานค่อนข้างมากและสังคมไม่ค่อยรับรู้ ด้วยว่าพื้นที่เกิดเหตุละเมิดมักจะอยู่บนเรือกลางท้องทะเล ไร้สายตาคนนอกที่จะมาจับจ้องมองดู กลายเป็นแรงงานที่มองไม่เห็นในสายตาคนบนฝั่ง