หญิงปกาเกอะญอสร้างอาชีพ ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19

โพสเมื่อ : 7 มกราคม 2565

ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19  ส่งผลต่อเศรษฐกิจจากระดับ มหภาคถึงระดับชุมชนครัวเรือน  

ทีเกะคี” เป็นชุมชนชาวปกากะญอบนดอยสูงของอำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีอาชีพหลักส่วนใหญ่ทำไร่ ได้แก่ กาแฟ มะเขือเทศ ฝักทอง เสาวรส และพืชอีกหลายๆ ชนิดตามฤดูกาล ชุมชนนี้คือหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 และทางด้านผลผลิตในไร่ ที่มีราคาตกต่ำและต้องชะลอการขายออกไป ทำให้ส่งผลต่อรายได้ในหลายครอบครัวอย่างหนัก

"เลอาร์"  เอเนตร มาธุสรสวรรค์  หญิงปกาเกอะญอ อายุ 34 ปี เธออยู่กับลูกอีก 2 คน อาชีพทำไร่  เลอาร์เคยมีไร่กาแฟประมาณ 500 ต้น  แต่เมื่อหลายปีทีผ่านมาโดนไฟป่าไหม้เสียหายจนหมด ปัจจุบันมีไร่กาแฟที่เป็นของแม่ประมาณ 1 ไร่  ในสถานการณ์นี้เธอต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง และมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นเธอจึงตัดสินใจจะนำกาแฟที่เหลืออยู่ และซื้อเพิ่มบางส่วน มาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกาแฟของเธอ และนำไปขาย โดยปกติในแต่ละปีเธอจะเลือกเมล็ดกาแฟอย่างดีไว้ชงดื่ม ทำให้เธอมีประสบการณ์เรื่องการคัดกาแฟ ส่วนทุนดำเนินการเริ่มต้นยังไม่มี เลอาร์จึงได้เข้าร่วมโครงการของมูลนิธิรักษ์ไทย  ทางโครงการได้สนุนวัสดุอุปกรณ์  ร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จนได้ผลิตภัณฑ์ เมล็ดกาแฟคั่วทีเกะคี

 

เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

ทีเกะคี (ที แปลว่า น้ำ, เกะ แปลว่า โค้ง, คี แปลว่า ห้วย  หรือชื่อที่ทางการ เรียกว่า ห้วยโค้ง ) เป็นชื่อชุมชนที่เลอาร์ อาศัยอยู่ เธอบอกว่าอยากใช้ชื่อกาแฟว่า ทีกะคี เพราะว่า ที่ชุมชนมีกาแฟเยอะ มีคุณภาพที่ดี  และอนาคตเธอจะพัฒนากาแฟ ให้เป็นที่ภาคภูมิใจของชุมชน 

ทีเกะคี เป็นกาแฟที่ ใช้ความใส่ใจในกระบวนการผลิต ตั้งแต่เก็บเมล็ด  การหมัก การสี และการตากเมล็ด ตลอดถึงการการคั่วเหมือนวิถีชาวปกาเกอะญอดั่งเดิมที่ใส่ใจธรรมชาติ รักและดูแลผืนป่า  

ลวดลายสีสันบนตราสินค้า นำมาจากลายผ้าทอ “เชซู” ปักเป็นรูปดวงอาทิตย์และดอกไม้และพื้นสีดำ  เลอาร์ บอกว่า “ เชซู เสื้อสีดำ นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสู่สถานภาพใหม่ ในฐานะภรรยาและความเป็นแม่ มีความรับผิดชอบในชีวิตที่มากขึ้น เป็นหญิงที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี มีความละเอียดในการครองเรือน ดูแลสามีและลูก เป็นภรรยาที่ดีเป็นตัวอย่างของลูก เช่นเดียวกับการคัดสรรเมล็ดกาแฟ ทีเกะคี  ที่ใส่ใจ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค 


 
เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

ก้าวข้ามอุปสรรค สู่ความสำเร็จ

จากอุปสรรคที่เธอได้ก้าวข้ามมา และความมุ่งมั่น ความกล้าของเธอ วันนี้ เลอาร์ มีความมั่นใจมากขึ้น สำหรับการพัฒนาอาชีพใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจกาแฟเล็กๆ  แม้ว่าจะเป็นก้าวแรกและเป็นผู้หญิงคนแรกชุมชนที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดความเชื่อเดิมของชุมชน  แต่ก็เป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจในชุมชน ขอส่งกำลังใจช่วยเธอให้ประสบความสำเร็จ เลอาร์ กับ กาแฟทีเกะคี
 

เรื่องราวอื่นๆ

ผู้หญิงมีหน้าที่แค่เลี้ยงลูก ?

ผู้หญิงมีหน้าที่แค่เลี้ยงลูก ?

แต่เดิมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์มะลิ ผู้หญิงเวลาแต่งงาน ฝ่ายชายจะมีสิทธิ์เลือกคู่ครอง โดยที่ฝ่ายหญิงจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม...

การเปลี่ยนแปลงความคิดที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำ

การเปลี่ยนแปลงความคิดที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำ

จากความพยายามตั้งแต่เริ่มต้น ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายก็สามารถเป็นผู้นำได้หมด ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราว่าเราจะตั้งใจทำขนาดไหน

ขยะทะเลปัญหาสำคัญของคนเกาะเต่า

ขยะทะเลปัญหาสำคัญของคนเกาะเต่า

คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกาะเต่า ในฐานะจุดดำน้ำระดับโลก หาดตามเว้าอ่าวที่มีอยู่รอบเกาะเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำ อ่าวลึกเป็นอ่าวที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะเต่า เป็นจุดดำน้ำปะการังน้ำตื้น ที่มีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักกันดี

กลุ่มวิสาหกิจ หมู่บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

กลุ่มวิสาหกิจ หมู่บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

ชุมชนชาวลัวะ บนสันเขา บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบและพื้นที่ภูเขา หรือเชิงเขาที่ระดับความสูง 600-1,200 เมตรจากระดับน้ำ ได้อาศัยผืนป่าและตั้งรกรากในพื้นที่แห่งนี้มานาน จนถึงปัจจุบันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ติดเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา