สิทธิและโอกาสของแรงงานข้ามชาติสตรี

     แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น แรงงานข้ามชาติมีทั้งชายและหญิงในจำนวนที่ทัดเทียมกัน ในประเทศไทยซึ่งเป็นปลายทางของแรงงานอพยพมาหลายทศวรรษ แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจากลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นแรงงานไร้ทักษะตามเมืองใหญ่

     ข้อมูลจาก รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย ปี 2562 จัดทำโดยองค์กรภาคีของคณะทำงานเฉพาะเรื่องแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นของประเทศไทย  ระบุว่าแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยนั้นมีประมาณ 8.5 เปอร์เซ็นต์ของกำลังแรงงานในประเทศ แรงงานกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 3.9 ล้านคน และในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งคือแรงงานข้ามชาติสตรี

     จากการทำงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ของมูลนิธิรักษ์ไทย ในจังหวัดชลบุรีและระยอง พบว่า แรงงานหญิงข้ามชาติที่เข้ามาในเมืองไทยนั้น มีทั้งกลุ่มที่เข้ามาในลักษณะของการติดตามสามีเข้ามาทำงาน และกลุ่มที่เข้ามาเองโดยอิสระเพื่อแสวงหาโอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าในชีวิต เพื่อนำรายได้กลับไปส่งเสียครอบครัว ซึ่งกลุ่มหลังนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น

     แรงงานหญิงข้ามชาติต้องเผชิญความท้าทายจากภาพเหมารวมที่สังคมมีต่อผู้หญิง ที่ต้องเป็นเมียและแม่ของครอบครัว  และเมื่อเข้าสู่การเป็นแรงงานหญิงข้ามชาติแล้วพวกเธอยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ การถูกทำร้ายทรมาน และค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม รวมไปถึงการถูกเลือกปฏิบัติในโอกาสที่จะได้เข้าทำงาน

     พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ความเป็นแรงงานหญิงข้ามชาตินั้นถูกกดทับ ทั้งจากความเป็นแรงงานข้ามชาติ และความเป็นเพศหญิงของเธอเอง ดังนั้นการช่วยเหลือแรงงานสตรีกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพและความต้องการที่แท้จริงจากเจ้าของปัญหาด้วยตนเอง

     โครงการความปลอดภัยและยุติธรรม : สิทธิและโอกาสของแรงงานข้ามชาติสตรีในภูมิภาคอาเซียน (Safe and Fair : Realizing Women Migrant Workers’ Rights and Opportunities in the ASEAN Region) เป็นโครงการที่มูลนิธิรักษ์ไทย ดำเนินงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติสตรีในจังหวัดชลบุรี และระยอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อให้เกิดการเสริมทักษะแก่แรงงานหญิง และส่งเสริมให้เกิดแกนนำผู้หญิงที่จะช่วยสอดส่องเหตุการณ์ในชุมชน ในเรื่องสิทธิแรงานและเรื่องความรุนแรงต่อเพศหญิง

     ก่อนเริ่มทำงาน ทางเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิรักษ์ไทย ได้จัดกลุ่มพูดคุยสัมภาษณ์กับตัวแทนแรงงานหญิงว่า พวกเธอมีความต้องการพัฒนาทักษะอะไรในชีวิตการทำงาน เมื่อต้องมาทำงานอยู่ในเมืองไทย

     คำตอบอันดับแรกคืออยากเรียนภาษาไทย เพื่อให้สื่อสารได้ อ่านป้ายออก จึงนำมาสู่การจัดทำหลักสูตรสอนภาษาไทยให้แรงงานหญิงข้ามชาติ เนื้อหาเน้นการพูด-ฟัง และการอ่านอย่างง่าย ๆ  แต่โชคร้ายที่ว่าเมื่อทำหลักสูตรเสร็จแล้ว เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ต้องเลื่อนการเรียนการสอนออกไปก่อน เนื่องจากชั้นเรียนในคราวหนึ่งจะมีนักเรียนประมาณ 25 คน การมาเรียนรวมกันอาจจะกลายเป็นการแพร่เชื้อไปได้

โครงการอื่นๆ

She made it ผู้หญิงพลิกฟื้นเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชน

She made it ผู้หญิงพลิกฟื้นเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชน

ดึงศักยภาพและความสนใจเพื่อนำมาประกอบเป็นวิชาชีพเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงที่ถูกตีกรอบด้วยความเชื่อและทัศนคติทางวัฒนธรรม เช่น กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สูญเสียสามีที่เป็นผู้นำครอบครัวไปกับความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือกลุ่มชาติพันธุ์

เสริมสร้างพลังอำนาจหญิงน่าน

เสริมสร้างพลังอำนาจหญิงน่าน

แม้ภาครัฐจะกำหนดให้เด็กไทยได้รับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี และโดยภาพรวมแล้วเด็กในเมืองใหญ่ก็ได้รับการศึกษาตามนั้น แต่ในความเป็นจริงคือยังมีเยาวชนหญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิงในจังหวัดน่าน ซึ่งมีอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ที่ไม่รู้หนังสือ หรือมีความรู้ไม่เพียงพอต่อทักษะการดำรงชีวิต

We Sparkle

We Sparkle

“ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ความข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะให้ทำได้จริงนั้นอาจยากนัก ยิ่งคนในวัยแรงงานโดยเฉพาะแรงงานหญิงยิ่งมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวและดูแลผู้มีพระคุณ ยิ่งทำให้ชีวิตปลอดพ้นจากการเป็นหนี้ได้ไม่ง่ายนัก

เสริมศักยภาพผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อลดความเปราะบางจากเพศสภาพและการเข้าถึงการสนับสนุน

เสริมศักยภาพผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อลดความเปราะบางจากเพศสภาพและการเข้าถึงการสนับสนุน

จากสถานการณ์ความขัดแย้งและความตึงเครียดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องมา 10 กว่าปี ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมที่นั่น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องเผชิญปัญหาความยากจน ความรุนแรงทางเพศ และการติดยาเสพติด ซึ่งมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง